ตัวแทนประกันชีวิตเอไอเอ : คุณปาริชาติ หยวกใจธรรม
โทร. 090-971-8041 อีเมล info.aiadelivery@gmail.com

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ดีอย่างไร

ช่วงหลังๆ มานี้ประกันสุขภาพเปรียบเหมือนเป็นอีกหนึ่งหลักประกันสุขภาพทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทุกเพศทุกวัยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าเรามีเสี่ยงด้านสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ๆ หรือสภาพแวดล้อมที่ถดถอยลงในทุกวินาที เอื้อให้เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น เราเลยต้องการหาความมั่นคงให้ชีวิต และให้สุขภาพของตัวเองด้วยความคุ้มครองจากประกันสุขภาพนั่นเอง

การเลือกซื้อประกันสุขภาพนั้นเป็นโจทย์ที่ยากมาๆ เพราะมีแบบประกันให้เลือกมากมาย แต่แบบที่ครองใจผู้คนมากที่สุดคือ ‘ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย’ หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จัก ไม่คุ้นหู และกำลังอยากรู้ว่ามันคุ้มเพราะอะไรใช่ไหมครับ

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายก็เหมือนการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ คือ บริษัทที่รับประกันจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้ผู้เอาประกันในกรณีที่เจ็บป่วยตามทุนประกันที่ได้เลือกแผนประกันไว้ ซึ่งเป็นการจ่ายค่ารักษาตามจริง จึงมีหลายคนที่สนใจเลือกซื้อแบบเหมาจ่าย เพราะให้ความคุ้มครองที่สูงกว่าประกันสุขภาพที่เป็นแบบแยกค่าใช้จ่ายหรือประกันสุขภาพแบบดั้งเดิม แต่ก่อนตัดสินใจซื้อควรพิจารณาข้อมูลให้ละเอียดก่อน

 

1. ค่าเบี้ยประกัน

เบี้ยประกันแบบเหมาจ่ายจะมีค่าเบี้ยสูงกว่าการเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย แต่ข้อดีของประกันแบบเหมาจ่าย คือ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การเคลมทำได้ง่าย และสะดวก แผนความคุ้มครองไม่ซับซ้อน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายต้องยอมเสียเบี้ยประกันที่แพงกว่า

ส่วนความคุ้มครองสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย สามารถเลือกแผนตามที่ต้องการ ไม่ต้องซื้อหมดทุกรายการ เพราะอาจจะไม่ต้องการความคุ้มครองทั้งหมดก็ได้

2. ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่จะใช้บริการ

ถึงจะเป็นประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย แต่จะมีข้อจำกัดของวงเงินค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น ค่าห้องพัก  ดังนั้น ต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านห้องพักในโรงพยาบาลที่คาดว่าจะเข้ารับการรักษาเมื่อยามเจ็บป่วยด้วยว่า เพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่

3. สวัสดิการที่มีอยู่

สำหรับพนักงานประจำที่มีสวัสดิการทางด้านการรักษาพยาบาล ให้พิจารณาความคุ้มครองที่ได้รับว่าเพียงพอกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพออาจจะต้องมองหาประกันสุขภาพเพิ่มเติม และเมื่ออายุมากขึ้น เช่น 40 ปี ควรวางแผนพิจารณาซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเองหลังเกษียณด้วย เพราะหลังเกษียณจะไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากบริษัทอีกต่อไป

ประกันสุขภาพแต่ละประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน ถ้าต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมเยอะๆ เข้าใจได้ง่าย ไม่ยุ่งยากในการเคลม แต่ต้องจ่ายเบี้ยสูงๆ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายถือเป็นทางเลือกสำหรับคนไทยในปัจจุบัน

แผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่เกี่ยวข้องกับบทความ

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ


  • ประกันสุขภาพลูกน้อยแบบไหนดี 2565
    แนะนำประกันสุขภาพสำหรับเด็กและลูกน้อยที่น่าสนใจสำหรับปี 2566เพราะลูกน้อยเป็นดั่ง "แก้วตาดวงใจ" ของคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ดังนั้นหากเกิดการเจ็บป่วยไม่สบาย มิวายต้องพาลูกน้อยไปพบคุณหมอด้ว...

  • ประกันสุขภาพปี 2565 ที่น่าสนใจ
    หากคุณกำลังมองหาประกันสุขภาพคงจะมีคำถามว่า"ทำประกันสุขภาพแบบไหนดี??" ใช่ไหมคะประกันสุขภาพของเอไอเอ มีให้เลือกมากมายหลายโครงการ โดยเราสามารถเลือกได้ตามกำลังทรัพย์หรือความคุ้มครองที่...

  • โรคภัยไข้เจ็บในเด็ก
    เด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี เป็นวัยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก จึงเกิดโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย และเป็นเด็กที่เริ่มมีการทำกิจกรรมใกล้ชิดกับเด็กคนอื่นๆ เช่นเริ่มมีการเข้าโรงเรียน ดังนั้นหากม...

  • สิ่งที่ควรรู้ก่อนการทำประกันสุขภาพ resize.jpg
    อะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนการทำประกันสุขภาพ จริงๆสิ่งที่ควรรู้มีมากมายเอามาเล่าให้ฟังยังไงก็ไม่หมดค่ะ ดังนั้นมุกจะขอนำเสนอเฉพาะเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ และอาจจะนำไปสู่ปัญหาการ...

  • ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย เปรียบเสมือนบุฟเฟ่ต์.jpg
    เนื่องจากปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บแฝงมาในทุกรูปแบบทุกสถานการณ์ จนบางทีเราคิดว่าเราดูแลสุขภาพตัวเองดีแล้ว ก็ยังเจ็บป่วยจนได้ โดย 10 โรค ที่จะเรากล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นโรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้...

  • ควรทำประกันอะไรเป็นฉบับแรก.jpg
    เราควรทำประกันอะไรเป็นฉบับแรก?? เพราะประกันคือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรื่องความเสี่ยงทางด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพดังนั้น หลายๆคนอาจที่กำลังจะซื้อประกันให้กับตัวเอง บางคนอ...

  • ประกันสุขภาพมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน.jpg
    มาทำความรู้จักว่าแท้จริงแล้วประกันสุขภาพจำเป็นแค่ไหน แล้วคุ้มหรือไม่ที่จะทำประกันสุขภาพไปด้วยกันเลยครับ รู้จักประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพคือ ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่าย...